ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ชุมชนต้นแบบ
หน้าตัวอย่าง
ผลิตภัณฑ์ชุมชน
หน้าตัวอย่าง
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ติดต่อสอบถาม
Home
เกี่ยวกับ ศบว
ทำเนียบผู้บริหาร
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรศูนย์บริการวิชาการ
ติดต่อเรา
ทะเบียนที่ปรึกษา
ขั้นตอนการจดทะเบียนที่ปรึกษา
แบบฟอร์มประวัติบุคลากรที่ปรึกษา
ตัวอย่างหนังสือรับรองผลงาน
แบบฟอร์มขอเอกสารจดทะเบียนที่ปรึกษา
ทุนบริการวิชาการ
หน้าตัวอย่าง
ดาวน์โหลด
แบบฟอร์มประวัติที่ปรึกษา
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์งานบริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์
แบบฟอร์มขอเอกสารจดทะเบียนที่ปรึกษา
แบบฟอร์มโครงการบริการวิชาการ
แบบแจ้งการบันทึกข้อมูลแผนการผลิตรายการโทรทัศน์
ขั้นตอนการดำเนินงานบริการวิชาการ
ขั้นตอนการดำเนินงานวิชาการรับใช้สังคม
แบบฟอร์ม
แบบฟอร์มประกอบการประเมิน QA
แบบรายงานตามเกณฑ์การประเมิน ITA
EN
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เดินหน้าร่วมผลักดัน “กลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงหมูครบวงจร” ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2563 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งรวี จิตภักดี อาจารย์ ดร.สุขุมาล กล่ำแสงใส สำนักวิชาการจัดการ พร้อมด้วยคณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ และหน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่ ชุมชน ร่วมจัดประชุมเวทีชุมชนเพื่อระดมความคิดเห็น เรื่อง “แนวทางการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร พื้นที่ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา” เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ศาลาประชาคม หมู่ที่ 8 ต.ไทยบุรี ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา เป็นชุมชนเป้าหมายรายรอบมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คนในชุมชนมีอาชีพเสริมที่สำคัญ นั้นคือ การผลิตสุกรรายย่อย จำนวน 60 ฟาร์ม มีลักษณะการเลี้ยงทั้งแบบการเลี้ยงแม่สุกรเพื่อผลิตลูก และเลี้ยงสุกรขุน ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรส่วนใหญ่ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เล็งเห็นว่าปัญหาดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองลำพัง จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรแก้ปัญหาและจัดการร่วมกัน ดังนั้น แกนนำและกลุ่มเกษตรกร จึงแสดงเจตจำนงขอรับบริการนำความรู้ทางวิชาการเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตแบบองค์รวม ศูนย์บริการวิชาการ จึงร่วมกับคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อกำหนดเป้าหมาย และจัดลำดับความสำคัญของชุมชน ตลอดจนร่วมกันจัดทำแผนกับชุมชนแบบหุ้นส่วนการทำงานกัน จึงเกิดโครงการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงสุกร ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา” ภายใต้โครงการวิชาการรับใช้สังคม (WU-Social Engagement) ปี 2563 มุ่งพัฒนากลไกการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนที่มีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้พัฒนาสู่ความยั่งยืนในอนาคต ผ่านมาได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลสถานการณ์ ความต้องการของชุมชนและศึกษาความเป็นไปได้ในการรวมกลุ่มสมาชิกเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรร่วมกับภาคีการพัฒนาสำรวจชุมชน เพื่อนำข้อมูลชุมชนมาวิเคราะห์และจัดลำดับความปัญหา
ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งรวี จิตภักดี ในฐานะหัวหน้าโครงการ ได้จัดประจัดประชุมเวทีชุมชนเพื่อระดมความคิดเห็น เรื่อง “แนวทางการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร พื้นที่ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา” ขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจโครงการ แลกเปลี่ยนความรู้ประโยชน์ ความสำคัญของวิสาหกิจชุมชน รวมถึงกิจกรรมที่สมาชิกจะร่วมกันทำความต้องการและเหมาะสมกับศักยภาพสภาพท้องถิ่น ตลอดจนสร้างกระบวนการทำงานบูรณาการระหว่างมหาวิทยาลัย เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่ ตลอดจนหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 60 คน ด้วยกิจกรรมดำเนินการ ดังนี้
1) “เพิ่มมุมมอง ขยายช่องโอกาส สร้างรายได้วิสาหกิจชุมชน”
กิจกรรมบรรยายแนวทางการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจ: “สร้างโอกาสและรายได้ของชุมชนฐานรากสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อชี้แจงโครงการและให้ความรู้ให้เห็นถึงประโยชน์ของวิสาหกิจชุมชน ความสำคัญของกลุ่มที่มีต่อสมาชิกกลุ่ม รวมถึงกิจกรรมที่สมาชิกจะร่วมกันทำความต้องการและเหมาะสมกับศักยภาพสภาพท้องถิ่น ตลอดจนแลกเปลี่ยนกับผู้นำวิสาหกิจชุมชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ ตลอดจนสร้างความรู้ความเข้าใจ “มูลค่า” ของวงจรการเลี้ยงสุกร และเพิ่มมุมมองการยกระดับอาชีพของคนในชุมชน
2) “พลังกลุ่มขยับเคลื่อน “เชื่อหมดใจ” ร่วมใจคลี่คลาย “หัวชนฝา”
กิจกรรมกระบวนการระดมความคิดเห็น เริ่มด้วยกิจกรรม “อู๊ด อู๊ด สับหมู ถูบ้าน” ผู้เข้าร่วมสื่อสารความตั้งใจและต้องการชุมชนต่อการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจ ในภาพรวมผู้เข้าร่วมสนใจและมีความต้องการยกระดับพัฒนาอาชีพการเลี้ยงหมูให้ครบวงจรตั้งแต่การผลิต การรวมกลุ่ม การแปรรูป และการตลาดด้วยกลไกกระบวนการกลุ่มที่เป็นรูปธรรม และกลไกเชื่อมโยงวิชาการองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัย หลังจากนั้นวิทยากรได้ดำเนินกิจกรรม “เชื่อหมดใจ” ชวนให้ทุกคนคิดถึงเหตุผลของสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน ขณะเดียวกันก็แลกเปลี่ยนชวนคิด “ค้านหัวชนฝา” ชวนให้ทุกคนถึงเหตุผลของความไม่สำเร็จ พร้อมนำเสนอแต่ละกลุ่ม ในตอนท้ายสรุปรวบยอดประเด็นหาแนวทาง ขยับเคลื่อน “เชื่อหมดใจ” และคลี่คลาย “หัวชนฝา” ซึ่งผู้เข้าร่วมพร้อมใจ “หาจุดร่วม สงวนจุดต่าง” มุ่งก้าวไปข้างหน้า สร้างความร่วมมือของทุกฝ่ายสู่ความสำเร็จในการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจเพื่อยกระดับต่อยอดอาชีพสร้างรายได้
3) “ก่อร่าง ร่วมสร้างกลุ่ม”
กิจกรรมลงมติตั้งกลุ่ม และแต่งตั้งคณะทำงาน ที่ประชุมเสนอชื่อกลุ่มวิสาหกิจที่มีความหลากหลาย ที่ประชุมมีมติกลุ่มวิสาหกิจ ในนาม “กลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงหมูครบวงจร ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา” ซึ่งตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของสมาชิกกลุ่ม ที่เน้นพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำ (การผลิต) กลางน้ำ (รวมกลุ่ม แปรรูป) และปลายน้ำ (ช่องทางการจำหน่ายและตลาด) พร้อมทั้งได้แต่งตั้งคณะทำงานกลุ่ม มีมติตั้ง นายสนอง ทองยอด เป็นประธานคณะทำงาน พร้อมด้วยคณะทำงานฝ่ายต่าง ๆ รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก และสมาชิกกลุ่ม จำนวน 35 คน
4) “จดตั้ง มุ่งหวังพัฒนาต่อยอดกลุ่ม”
กิจกรรมสรุปและปิดประชุมระดมความคิดเห็น โดยคณะทำงานฯ ร่วมกับกลุ่มฯ จะดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ณ สำนักงานเกษตรอำเภอท่าศาลา และให้บริการวิชาการอบรมถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนากลุ่มในด้านต่าง ๆ และประสานหน่วยงานภาคีร่วมพัฒนา เพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มสมาชิก ในขั้นตอนถัดไป
จำนวนคนดู:
36