ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 30 ภาคบรรยาย รูปแบบออนไลน์

          ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายความร่วมมือ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในการดำเนินโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 30 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทางทะเล กลไกและกระบวนการที่สำคัญ ส่งเสริมการเรียนรู้กระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศ และการอนุรักษ์การใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดและอย่างยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเล
          การจัดอบรมในครั้งนี้ มีนักศึกษาที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการทั้งระดับปริญญาตรี   ปริญญาโท ตลอดจนบัณฑิตจบใหม่ จำนวน 74 คน จาก 20 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ โดยผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมโครงการเพื่อรับความรู้รูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom meeting จำนวน 60 คน จาก 18 มหาวิทยาลัย คือ

ลำดับ

มหาวิทยาลัย

จำนวน (คน)

1

มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์

10

2

มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

1

3

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3

4

มหาวิทยาลัยนเรศวร

4

5

มหาวิทยาลัยบูรพา

9

6

มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี

6

7

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

2

8

มหาวิทยาลัยมหิดล

1

9

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

2

10

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

1

11

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

1

12

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

8

13

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

1

14

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

5

15

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

1

16

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

1

17

มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา

2

18

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

2

รวมจำนวนผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น

60

 กิจกรรมที่ผู้เข้ารับการอบรมโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 30 รูปแบบออนไลน์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 พฤศจิกายน – 26 พฤศจิกายน 2566 ประกอบด้วย
1.พิธีเปิดโครงการ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2566
          1.1 กล่าวต้อนรับ+เปิดงาน โดยผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  และบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด
          1.2 บรรยายพิเศษ หัวข้อ เทคโนโลยีคู่ควบการตรวจวัดภาคสนามและแบบจำลองเชิงตัวเลขเพื่อการศึกษาทางทะเลและปากแม่น้ำ โดย ผศ.ดร.ธนัสพงษ์ โภควนิช คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์
          1.3 ชี้แจงกิจกรรมของโครงการ และพบอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มกิจกรรมสัมมนา 

2.การบรรยาย: มีผู้บรรยายจากคณาจารย์มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญจากทั่วประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  จำนวน 17 หัวข้อ (6 พ.ย. – 25 พ.ย.66)
2.1  อาจารย์ ภายนอก ม.วลัยลักษณ์ จำนวน 15 ท่าน จาก 9 หน่วยงาน ความร่วมมือ

-อาจารย์ ดร.สืบพงศ์ สงวนศิลป์             ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
-ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ ดรุมาศ                     ผู้ทรงคุณวุฒิ
-อาจารย์ ดร.เอกพจน์ ศรีฟ้า                 ม.มหาสารคาม
-ดร.สมเกียรติ ขอเกียรติวงศ์                  ผู้ทรงคุณวุฒิ
-นายสหัส ราชเมืองขวาง                     ม.เกษตรศาสตร์
-ดร.เพราลัย นุชหมอน                        ผู้ทรงคุณวุฒิ
-ผศ.ดร.กริ่งผกา วังกุลางกูร                  ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
-ดร.ลลิตา ปัจฉิม                              สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
 -อาจารย์ ดร.วิชญา กันบัว                   ม.บูรพา
-อาจารย์สุภาพร แสงแก้ว                    ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
-ศ.ดร.อัญชนา ประเทพ                      ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
 -อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง                ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
-ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์                          จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน                       ม.รามคำแหง
-นายสุเทพ เจือละออง                        ศูนย์วิจัยทรัพยากรทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน

2.2 อาจารย์ และนักวิทยาศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 6 ท่าน 

-ผศ.ดร.พักตร์พิมล อึ่งเจริญวิวัฒน์            สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
-ผศ.ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี             สำนักวิชาวิทยาศาสตร์/ศูนย์บริการวิชาการ
-นายอาวุธ แก่นเพชร             อุทยานพฤกษศาสตร์
-น.ส.สุภาพร ผ้าสมบุญ             สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
-คุณชินกร ทองไชย             ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-คุณชุมพล คงนคร             ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

3. Special Talk จำนวน 1 ครั้ง
          3.1 วันที่ 15 พ.ย.66  หัวข้อ Fishery improvement project  การบริหารจัดการทรัพยากรประมงไทย ตามมาตรฐานสากล โดย ศ.ดร.ทวนทอง จุฑาเกตุ ม.อุบลราชธานี

3.Special Talk จำนวน 1 ครั้ง
          3.1 วันที่ 15 พ.ย.66 หัวข้อ Fishery improvement project การบริหารจัดการทรัพยากรประมงไทย ตามมาตรฐานสากล โดย ศ.ดร.ทวนทอง จุฑาเกตุ ม.อุบลราชธานี 
4.การทำหัวข้อสัมมนา: ผู้เข้าอบรมจะแบ่งกลุ่มเพื่อทำหัวข้อสัมมนา 10 กลุ่มๆ  โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงและให้การปรึกษาแนะนำ (นัดประชุมกลุ่มย่อยรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom meeting) โดยฝึกให้คิดการตั้งโจทย์ปัญหา การค้นคว้าหาข้อมูลตามประเด็นที่สนใจ และมีการนำเสนอหัวข้อ วันที่ 26 ธ.ค.66

 

กลุ่ม

ที่ปรึกษา

สังกัด

หัวข้อ

1

ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ ดรุมาศ

นักวิชาการ

กฏหมายและคำพิพากษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

2

นางสาวขนิษฐา อุทัยพันธ์

นักวิชาการ

ภาวะการลดลงของออกซิเจนในทะเลและมหาสมุทร: ภาวะพร่องออกซิเจนและทะเลแห่งความตายในทะเลไทย

3

อาจารย์ ดร.สืบพงศ์ สงวนศิลป์

คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

นิเวศวิทยาชายฝั่ง

4

ดร.ปรเมศวร์ ตรีวลัยรัตน์

วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

เต่าเล็กควรออกจากฝั่ง?

5

ดร.กฤติยา เชียงกุล

นักวิจัยอิสระ

ปลิงทะเลคืออะไร ปลิงไหนคือปลิงทะเล

6

อาจารย์ ดร.เชฏฐพร  สุจิตะพันธ์

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์

การศึกษาพื้นที่อ่อนไหวจากสึนามิด้วยวิธี GIS

7

ผศ.ดร.วิษณุ สายศร

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์

อนุกรมวิธานพืช

8

ผศ.จันทิรา รัตนรัตน์

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เทคโนโลยีระยะไกล

9

อาจารย์ ดร.จิรัฐิ สัตถาพร

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์

อนุกรมวิธานและนิเวศวิทยาของพืช

10

อาจารย์ ดร.ธนกร จิวรุ่งเรืองกุล

คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

ม.สงขลานครินทร์

เคมี ธรณีสัณฐานวิทยา

          จากกิจกรรมของโครงการทั้ง 4 กิจกรรมข้างต้น โครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 30มีผู้เข้ารับการอบรมจบการอบรมทั้งสิ้น 46 คน จาก 16 มหาวิทยาลัย คือ

ลำดับ

มหาวิทยาลัย

จำนวน (คน)

1

มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์

8

2

มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

1

3

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3

4

มหาวิทยาลัยนเรศวร

4

5

มหาวิทยาลัยบูรพา

3

6

มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี

6

7

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

2

8

มหาวิทยาลัยมหิดล

1

9

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

1

10

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

6

11

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

1

12

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

4

13

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

1

14

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

1

15

มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา

2

16

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

2

รวมจำนวนผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น

46

          โครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 30 รูปแบบออนไลน์ ดำเนินการจัดกิจกรรมเป็นเวลากว่า 1 เดือน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บริการวิชากร ขอขอบคุณไปยังสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และขอขอบคุณไปยังคณาจารย์ วิทยากร และที่ปรึกษา จากภาคีเครือข่ายทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง ในความร่วมมือ และให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโครงการเป็นอย่างดียิ่งเสมอมา
          สำหรับการจัดกิจกรรมภายใต้โครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 30 ภาคปฏิบัติ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 10 ธันวาคม 2566  ณ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จ.ภูเก็ต โดยคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ประเมินผลผ่านกิจกรรมข้อภาคบรรยาย รูปแบบออนไลน์ จำนวน 20 คน เข้าร่วมกิจกรรม  https://cas.wu.ac.th/archives/24290

จำนวนคนดู: 81